แน่นอนว่าระบบไฮดรอลิกส์มีความสำคัญในหลายอุตสาหกรรม แต่คุณเคยสงสัยหรือไม่ว่าระบบนี้มีกระบวนการทำงานอย่างไร หากต้องการยืดอายุการใช้งานควรบำรุงรักษาแบบไหน หรือปัญหาที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง ไม่ต้องกังวลไปวันนี้เรารวมข้อมูลมาให้คุณแล้ว 

ไฮดรอลิกส์มีกระบวนการทำงานอย่างไร 

สำหรับกระบวนการทำงานของระบบไฮดรอลิกส์สามารถแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่ แหล่งจ่ายพลังงาน ระบบควบคุมการทำงาน และอุปกรณ์ทำงาน ระบบท่อ โดยมีรายละเอียดเพิ่มเติม ดังนี้ 

1. แหล่งจ่ายพลังงาน  

มีหน้าที่หลัก ๆ ในการส่งถ่ายพลังงานน้ำมันไฮดรอลิกส์เข้าสู่ระบบโดยอาศัยมอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์เป็นตัวขับ ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 

  • ปั๊มไฮโดรลิกส์ 
  • มอเตอร์ไฟฟ้าหรือเครื่องยนต์ขับ 
  • ถังพักน้ำมัน  
  • ไส้กรองน้ำมัน 
  • ที่ดูระดับน้ำมัน 
  • ฝาเติมน้ำมัน 
  • ยอย 

2. ระบบควบคุมการทำงาน  

มีหน้าที่ในการควบคุมทิศทางการไหลของน้ำมัน ทำให้กระบอกสามารถเคลื่อนที่เข้าออกได้ รวมถึงควบคุมความดันของน้ำมันในระบบโดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องประกอบไปด้วย 

  • วาล์วปลดความดัน 
  • วาล์วลดความดัน 
  • วาล์วจัดลำดับความดัน 
  • เคาน์เตอร์บาลานซ์วาล์ว 
  • อันโหลดวาล์ว 

3. อุปกรณ์ทำงาน 

มีหน้าที่สำคัญในการเปลี่ยนพลังงานจากพลังงานน้ำมันไฮดรอลิกส์เป็นพลังงานกลเพื่อกระทำต่อภาวะโหลด อุปกรณ์หลัก ๆ ประกอบไปด้วยกระบอกไฮดรอลิกส์และมอเตอร์ไฮดรอลิกส์ 

4. ระบบท่อ  

มีหน้าที่สำคัญในการลำเลียงของเหลวไปยังกระบวนการต่าง ๆ เช่น สายไฮดรอลิกส์ ท่อเดินน้ำมัน ข้อต่อชนิดต่าง ๆ เป็นต้น 

ปัญหาที่พบบ่อย 

สำหรับปัญหาที่มีส่วนให้ระบบไฮดรอลิกส์ทำงานได้อย่างไม่เต็มประสิทธิภาพหรือก่อให้เกิดการสึกหรอหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้ 

1. การเลือกชนิดของน้ำมันไฮดรอลิกไม่ถูกประเภท  

เช่น น้ำมันไฮดรอลิกส์ที่ดีต้องไม่ทำปฏิกิริยาหรือกัดกร่อนชิ้นส่วนหรือซีล หากใช้ปั๊มที่มีชิ้นส่วนของโลหะเงินหรือทองบรอนซ์บางชนิดไม่แนะนำให้ใช้น้ำมันไฮดรอลิกที่ผสมสารป้องกันการสึกหรอประเภทสังกะสี 

2. อุณหภูมิสูงเกินไป  

กรณีที่น้ำมันมีอุณหภูมิสูงจะส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพและมีผลต่อความหล่อลื่นและการป้องกันการสึกหรอของปั๊ม 

3. การรั่วของอากาศความชื้นและสิ่งสกปรก  

อาจกลายเป็นสาเหตุให้ข้อต่อหลวมรอยซีลสึกหรอ ระดับน้ำมันต่ำเกินไป จนเป็นสาเหตุให้ตัวปั๊มน้ำมันไฮดรอลิกสึกหรอ 

4. ทำงานเกินความสามารถที่ออกแบบไว้  

การใช้งานระบบไฮดรอลิกส์ที่ดีควรเป็นไปตามข้อกำหนด ไม่ใช่ใช้เกินความสามารถที่ออกแบบไว้ เช่น ยกของ เปลี่ยนบุ้งกี๋หรืออื่น ๆ ซึ่งบางกรณีอาจส่งผลให้ท่อไฮดรอลิกแตกได้ 

5. ระดับความหนืดของน้ำมันไม่เหมาะสม  

น้ำมันหล่อลื่นปั้มที่ดีควรมีดัชนีความหนืดสูงและไม่เปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนแปลงไม่มากเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง 

เสริมเคล็ดลับการบำรุงรักษา 

หากต้องการยืดอายุการใช้งานของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ระบบไฮดรอลิกส์มีวิธีการบำรุงรักษาที่ช่วยได้ ดังต่อไปนี้ 

  • หมั่นทำความสะอาดด้วยน้ำมันไฮดรอลิกส์ ก่อนเดินเครื่องใหม่ทุกครั้งควรทำความสะอาดเศษโลหะ สนิม ฝุ่น หรือทรายอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการสะสม 
  • ใส่ใจเรื่องความสะอาดของน้ำมัน โดยต้องให้ความสำคัญกับทุกอุปกรณ์หรือภาชนะที่มีความเกี่ยวข้อง เช่น ถังเก็บปั๊มดูด ระบบกรองน้ำมัน และอื่น ๆ  
  • หมั่นตรวจสอบระบบการทำงานอย่างสม่ำเสมอ หากมีความผิดปกติใด ๆ เกิดขึ้น เช่น เสียงดังเกินไปหรือมีการรั่วไหลของอากาศ ควรรีบทำการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่ทันที 

สรุปได้ว่าระบบไฮดรอลิกส์มีหลักการทำงานโดยอาศัย 4 ระบบ ได้แก่ แหล่งจ่ายพลังงาน ระบบควบคุมการทำงาน ระบบการทำงาน และระบบท่อ เพื่อช่วยให้กระบวนการเปลี่ยนพลังงานจากน้ำมันไฮดรอลิกให้กลายเป็นพลังงานกลก่อนจะนำไปใช้งาน ส่วนเรื่องอายุการใช้งานไม่ว่าจะอุปกรณ์ใดก็ตามล้วนต้องใส่ใจ ดังนั้นผู้ใช้จึงควรมีการบำรุงรักษาและเข้าใจปัญหาต่าง ๆ อย่างถ่องแท้จะได้รู้ว่าควรรับมือยังไง